โดย บดินทร์ เทพรัตน์
ด้วยความที่หนังที่ ฮายาโอะ มิยาซากิ แห่งสตูดิโอจิบลิ มีส่วนร่วม ไม่ว่าจะกำกับ เขียนบท หรืออำนวยการสร้าง มักจะดัดแปลงมาจากวรรณกรรมเยาวชน ทำให้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่เขาจะเป็นแฟนคลับวรรณกรรมเยาวชนและหนังสือเด็กตัวยง ซึ่งทาง Koshi Literary Museum เคยจัดนิทรรศการพิเศษ “หนังสือเยาวชน 50 เล่มที่ ฮายาโอะ มิยาซากิ แนะนำ” ขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2011 เราจึงได้เห็นหนังสือพร้อมลายมือของมิยาซากิที่เขียนแนะนำแต่ละเล่มด้วยตัวเอง
-โปสเตอร์เทศกาลหนังสือของมิยาซากิ-
หนังสือทั้ง 50 เล่ม (พร้อมชื่อผู้เขียน) มีดังนี้
- The Little Prince by Antoine de Saint-Exupéry
- Il Romanzo di Cipollino (The Adventures of the Little Onion) by Gianni Rodari
- The Rose and the Ring by William Makepeace Thackeray
- The Little Bookroom by Eleanor Farjeon
- The Three Musketeers by Alexandre Dumas
- The Secret Garden by Frances Eliza Hodgson Burnett
- Die Nibelungensage (The Treasure of the Nibelungs) by Gustav Schalk
- Alice’s Adventures in Wonderland & Through the Looking-Glass by Lewis Carroll
- The Adventures of Sherlock Holmes by Arthur Conan Doyle
- A Norwegian Farm by Marie Hamsun
- The Humpbacked Horse by Pyotr Pavlovich Yershov
- Fabre’s Book of Insects by Jean-Henri Casimir Fabre
- Toui Mukashi no Fushigina Hanashi-Nihon by Reiiki Tsutomu Minakami
- Ivan the Fool by Leo Tolstoy
- The Eagle of the Ninth Chronicles by Rosemary Sutcliff
- Winnie the Pooh by A. A. Milne
- Les Princes du Vent by Michel-Aime Baudouy
- When Marnie Was There by Joan G. Robinson
- The Long Winter (Little House) by Laura Ingalls Wilder
- The Wind in the Willows by Kenneth Grahame
- The Ship That Flew by Hilda Lewis
- Flambards: Trilogy by K. M. Peyton
- Tom’s Midnight Garden by Ann Philippa Pearce
- The Adventures of Tom Sawyer by Mark Twain
- The Restaurant of Many Orders by Kenji Miyazawa
- Heidi by Johanna Spyri
- 20000 Leagues Under the Sea by Jules Verne
- The Borrowers by Mary Norton
- Nine Fairy Tales: and One More Thrown in for Good Measure by Karel Capek
- Swallows and Amazons by Arthur Ransome
- The Flying Classroom by Erich Kästner
- Robinson Crusoe by Daniel Defoe
- Treasure Island by Robert Louis Stevenson
- Twelve Months: A Fairy-Tale by Samuil Marshak
- Tistou: The Boy with Green Thumbs by Maurice Druon
- The Man Who Planted the Welsh Onions by Kim So-un
- Strange Tales from a Chinese Studio by PuSongling
- The Voyages of Doctor Dolittle by Hugh John Lofting
- The Journey to the West by Wu Cheng’en
- Little Lord Fauntleroy by Frances Hodgson Burnett
- From the Mixed-up Files of Mrs. Basil E. Frankweiler by E. L. Konigsburg
- The Children of Noisy Village by Astrid Lindgren
- The Hobbit; or, There and Back Again by J. R. R. Tolkien
- A Wizard of Earthsea (The Earthsea Cycle) by Ursula K. Le Guin
- The Little White Horse by Elizabeth Goudge
- Bylonas pet (There Were Five) by Karel Polacek
- City neighbor: The story of Jane Addams by Clara Ingram Judson
- The Radium Woman – a Life of Madame Curie for the Young by Eleanor Doorly
- Otterbury Incident by C. Day Lewis
- Hans Brinker, or The Silver Skates by Mary Mapes Dodge
โดยในรายชื่อเหล่านี้ มีหนังสือที่จิบลิเคยดัดแปลงเป็นหนังและซีรีส์แล้วหลายเรื่อง เช่น
When Marnie Was There (สร้างเป็นหนังในชื่อเดียวกัน)
The Borrowers– คนตัวจิ๋ว (สร้างเป็นหนังเรื่อง Arrietty)
A Wizard of Earthsea– พ่อมดแห่งเอิร์ธซี (สร้างเป็นหนังเรื่อง Tales from Earthsea)
รวมถึงผลงานที่มิยาซากิเคยมีส่วนร่วม เช่น Heidi– หนูน้อยไฮดี้ (มิยาซากิออกแบบฉากและเลย์เอาท์ให้อนิเมชั่นทางทีวีเรื่อง Heidi, Girl of the Alps. ในปี 1974), Sherlock Holmes – เชอร์ล็อค โฮล์มส์ (มิยาซากิกำกับอนิเมชั่นทางทีวีเรื่อง Sherlock Hound ซึ่งอ้างอิงจากวรรณกรรมเรื่องนี้แบบหลวมๆ 6 ตอนในช่วงต้นปี 1980)
—
ด้วยอิทธิพลของมิยาซากิในจิบลิ ทำให้น่าจับตาว่าหนังสือเล่มอื่นๆ ในลิสต์นี้จะถูกดัดแปลงเป็นหนังในอนาคตหรือไม่ (ซึ่งการทยอยดัดแปลงนิยายคลาสสิคเป็นอนิเมชั่นนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะดิสนีย์ในยุค 1950 – 60 ก็เคยดัดแปลงวรรณกรรมอังกฤษเป็นหนังแบบติดๆ กันมาแล้วหลายเรื่อง เช่น Alice in Wonderland, Peter Pan, Mary Poppins, The Jungle Book เป็นต้น)
รายชื่อหนังสือดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวรรณกรรมได้เป็นอย่างดี ดังที่มิยาซากิเคยกล่าวเอาไว้ว่า “แค่หนังสือล้ำค่าเล่มเดียว ก็เพียงพอสำหรับผมแล้ว”